ใบงานที่ 14 วงจรนิวแมติกควบคุมการทำงานแบบต่อเนื่องใช้กระบอกลม 2ตัว

วงจรนิวแมติกควบคุมการทำงานแบบต่อเนื่องมากกว่าหนึ่งกระบอกสูบ

ต้องการออกแบบเครื่องจักรระบบนิวเมติกส์เพื่อยกชิ้นงานที่มาจากสายพานลำเลียงต่างระดับ จากระดับต่ำไปยังระดับที่สูงกว่า โดยให้กระบอกสูบที่ 1 เป็นกระบอกยกชิ้นงานจากระดับล่างขึ้นไปยังระดับบน และใช้กระบอกสูบที่ 2 เป็นตัวผลักกล่องไปยังสายพานลำเลียง จากนั้นให้กระบอกสูบ 1 และกระบอกสูบ 2 กลับตำแหน่งเดิม และหยุดการทำงาน ให้ใช้วาล์วแบบปุ่มกดในการเริ่มวงจร
 
กำหนดให้กระบอกสูบที่  1  ออกเพื่อยกชิ้นงานจากระดับล่าง  และกระบอกสูบ  2  ผลักชิ้นงานลงสายพานลำเลียง  จากนั้นกระบอกสูบ  1  และกระบอกสูบ  2  จะกลับตำแน่งเดิม  นำมาเขียนลำดับขั้นการทำงานและไดอะแกรมบังคับ
 
ลำดับขั้นการทำงาน1234
ลำดับขั้นการทำงาน1+2+1-2-

ตาราง 1 จังหวะการทำงานของกระบอกสูบ

วิธีการออกแบบวงจรควบคุมนิวแมติก  สามารถแบ่งหลักการออกแบบได้ด้วยกัน  2  วิธีคือ

1.      วิธีอาศัยความเข้าใจและประสบการณ์ที่ได้ออกแบบวงจรมานาน  วิธีนี้จะใช้การลองผิดลองถูกวงจรที่ออกมาจะดีหรือประหยัดค่าใช้จ่ายหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ผู้ออกแบบ  ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาการออกแบบวงจรนิวแมนติกควบคุมใหม่ ๆ

2.      วิธีการอาศัยหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ  ในการออกแบบ  วงจรวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาการออกแบบวงจร  เพราะมีวิธีการและขั้นตอนในการออกแบบที่ละเอียด

                  ผู้ที่จะออกแบบวงจรได้ควรจะมีความรู้เรื่องนิวแมติกเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง  และข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์ในระบบนิวแมติกพื่อเป็นพื้นฐานในการออกแบบขั้นต้น
การออกแบบวงจรควบคุมการทำงานกระบอกสูบหลายกระบอกสูบให้ทำงานสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง  จะต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของก้านสูบมาควบคุมการทำงานของวงจร  โดยการนำเอาวงจรพื้นฐานที่ได้กล่าวไปแล้วมาประยุกต์รวมกันในการออกแบบวงจรควบคุม  ขั้นตอนในการออกแบบวงจรควรกระทำ  ดังนี้

1.      จะต้องรู้ลักษณะของเครื่องจักรที่ออกแบบวงจรเสียก่อน  เพื่อจะได้พิจารณาถึงลักษณะการออกแบบวงจรและตำแหน่งการติดตั้งวาล์วควบคุมในเครื่องจักรที่ต้องการออกแบบ  โดยพิจารณาเงื่อนไขของงานที่ต้องการออกแบบ

2.      จากลักษณะเครื่องจักรจะทำให้รู้ลักษณะและจำนวนของกระบอกสูบลมที่จะต้องใช้  เพื่อกำหนดจำนวนเมนวาล์ว

3.      กำหนดและเขียนลำดับขั้นการทำงานของกระบอกสูบว่ามีลำดับขั้นเป็นอย่างไร  เพื่อที่จะนำมาเขียนไดอะแกรมบังคับการเคลื่อนที่ของกระบอกสูบ

4.      เลือกสัญญาณวาล์วควบคุมการบังคับให้เมนวาล์วเคลื่อนที่ไปบังคับให้กระบอกสูบทำงานตามลำดับขั้นตอนการทำงาน  พร้อมกับกำหนดโค้ดตัวเลข  (หรือตัวอักษร)

5.      เขียนโครงร่างของวงจรบังคับให้กระบอกสูบทำงานตามความต้องการ  และเขียนวางไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง  พร้อมทั้งกำหนดโค้ดตัวเลขลงไป  วิธีการเขียนโครงร่างของวงจรเป็นดังนี้

-         เขียนอุปกรณ์กำลังในแถวแรก
-         เขียนเมนวาล์ว (4/2, 5/2)  ตามจำนวนของอุปกรณ์กำลังในแถวที่สอง
-         เขียนวาล์วป้อนสัญญาณ (3/2)  ตามจำนวนที่ต้องการใช้  โดยดูเงื่อนไขจากลำดับขั้นการทำงานของอุปกรณ์กำลังว่ามีกี่จังหวะ (ดูจากข้อที่ 4)  ลงในแถวที่สาม
-         เขียนสัญลักษณ์ของอุปกรณ์จ่ายพลังงานลงในแถวที่สี่
-         กำหนดโค้ดต่างๆ ลงไปบนอุปกรณ์
-         เขียนท่อทางส่งลบ  และต่อเส้นบังคับการทำงานของเมนวาล์ว

6.      เขียนไดอะแกรมหน้าที่ ตรวจสอบการทำงานของวงจรเพื่อกำหนดกลไกในการบังคับวาล์วควบคุม  และนำไปเขียนวงจรบังคับการทำงาน  วงจรบันคับการทำงานถ้าจะเขียนให้สมบูรณ์ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการสตาร์ดด้วย
 
รูปวงจร ที่ 2
 
วงจรในรูปที่ 2  ยังมีข้อไม่ดีอยู่บ้าง  คือในขณะที่กระบอกสูบ  2.0  กำลังกลับอยู่นั้น  ถ้าไปกดวาล์ว  1.2  จะทำให้กระบอกสูบ  1.0  เคลื่อนที่ออกทันที  ทำให้ผิดลำดับขั้นตอนการทำงาน  ดังนั้น จึงต้องมีการอินเตอร์เน็ตล็อค (interlock)  ลำดับขั้นการทำงานเอาไว้  โดยแทรกวาล์ว  1.4  ลงไปในวงจรให้วาล์ว  1.4  บังคับด้วยกลไกลูกกลิ้งและนำไปติดตั้งในตำแหน่งที่กระบอกสูบ  2.0  เคลื่อนที่กลับสุด
 
 
รูปวงจร ที่ 3

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้