เกจวัดความดันหรือเพรสเชอร์เกจ คืออะไร มีรายละเอียด อย่างไร

pressure gauge

ทำความรู้จักกับ เกจวัดความดันหรือ Pressure gauge (measurement) เบื้องต้นครับ
     อุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันบรรยากาศที่เกิดขึ้นในระบบท่อ ถังหรือในพื้นที่ที่เก็บแรงดันเอาไว้เราสามารถอ่านค่าแรงดันบรรยาการได้จากเครื่องมือหลายชนิดอย่างเช่น บาโรมิเตอร์,แมนโนมิเตอร์หรือเกจวัดความดัน

เพรสเชอร์เกจ หรือ เกจวัดความดัน
Pressure gauge แบ่งได้ตามประเภทของย่านวัดออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ
1 .Vacuum gauge ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ เช่น (-760mmhg to 0bar)
2 .Pressure gauge ช่วงแรงดันปกติ เช่น (0 to 7Bar)(0 to 100psi)
3 .Compond gauge ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ ถึง ช่วงแรงดันปกติ เช่น(-30inhg to 9Bar) 


1.Vacuum gauge2.Pressure gauge3.Compond gauge


     หรืออาจแบ่งตามประเภทของวัสดุที่ใช้ผลิต ,ขนาดหน้าปัดของตัวเรือน,ขนาดความโตของเกลียว,วัสดุที่ใช้ทำเกลียว เป็นต้น เช่น (pressure gauge rang 0-25 Bar (0-350 psi)หน้าปัด 2.5นิ้ว เกลียวทองเหลืองออกล่าง 2หุน)ในท้องตลาดมีอยู่หลายยี้ห้อ เช่น NUOVAFIMA

อ่านข้อมูลเพื่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Pressure_measurement

หน่วยวัดความดันใน Pressure gauge เกจวัดความดันมีหน่วย อะไรบ้างที่นิยมใช้
 ที่นิยมใช้และเจอบ่อยๆจะมี
1.Bar บาร์ metric unit  เพื่มเติมได้ที่..........
2.Kgf/cm2 กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร(ระบบแมติก)kilogram-force per centimetre square (kgf/cm2)  คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆครับ เพื่มเติมได้ที่..........
3.PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว Pounds per square inch   เพื่มเติมได้ที่..........
4.mmhg มิลลิเมตรปรอท  เพื่มเติมได้ที่..........
5.mmH2o มิลลิเมตรน้ำ
6.pa (pascal)  is the SI derived unit ส่วนใหญ่จะพบเป็น kpa หรือ mpa เพื่มเติมได้ที่..........

 

ตาราง Pressure Conversion Table
 

น้ำมันหรือของเหลวที่อยู่ใน pressure gauge คืออะไร
นั้นก็คือ "Glycerine" นี่เอง กลีเซอรีนเป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืดโดยได้มาจากน้ำมันจากพืชเช่นจากปาล์ม เป็นต้น กลีเซอร์รีนสามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ และเป็นสารที่ไม่มีผิษ ด้วยคุณสมบัติดั่งกล่าว กลีเซอร์ลีนจึงนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟันอื่นๆอีกมากมาย ยังช่วยในการหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี

 เหตุผลที่เลือกใช้ Glycerine ใน Pressure gauge และ ประโยชน์จากกาเติม Glycerine ในPressure gauge
1.ความหนืดของ Glycerine จะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด(shock pressure) ได้เป็นอย่างดี
2.ประโยชน์ของความหนืดใน Glycerine ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการตืดตั่ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานตลอตเวลา
3.Glycerine ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายใน pressure gaugeให้ทำงานได้อย่างยาวนานมากขึ้น
4.Glycerine ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการสั่น
5.Glycerine ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
5.Glycerine ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเลี่ยนแปลงของความดันในจุดที่เราวัด

Pressure Guage ยี้ห้อ Nuovafima จะเลือกซื้อได้อย่างไร
เลือกได้จาก
1.เลือกย่านวัดความดันตามที่เราใช้งาน เช่น ต้องการ Rang 0-10bar เป็นต้น
2.ตามขนาดหน้าปัดเช่น 2.5นิ้ว 4นิ้ว 6นิ้ว 8นิ้ว 10นิ้ว
3.ต้องการเกลียวออกหลัง หรือ เกลียวออกล่าง มีทั้ง NPT และ BSP
4.วัสดุที่ทำเกลียว Nuonafima จะมีให้เลือกอยู่2แบบคือ เกลียวทองเหลือง และ สแตนเลส
(ทุกตัวจะมีช่องไว้สำหรับเติม Glycerine ทุกตัวครับ)

Pressure gauge ใช้ในงานอุณหภูมิสูงๆได้มั้ย
ได้ครับแต่ถ้าเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เช่นงาน steam water heaterที่มีอุณหภูมิถีง 180 องศาเซลเซียสหรือที่เราเรียกว่างาน สตีม นันเอง เราต้องมีอุปกรณ์เสริมนิดหน่อยครับ งานนี่พระเอกของเราคือ Syphon นันเอง
Syphon จะทำหน้าที่ ช่วยลดอุณหภูมิก่อนเข้า pressure gaugeของเราครับ

Pressure Gaugeในงานอาหารหรือ Food Grade ได้หรือไม่
     งาน Food Grade และงานอุสาหกรรมที่มีการกัดกร่อนสูง อุตสาหกรรมเคมี หรือวัดความดันที่มีความหนืดสูง หรือสารที่มีการตกผลึกสูง ตัว Diaphram มาต่อเข้ากับ Pressure gauge 
ประโยชน์คือ 
1.ป้องกันสารดังกล่าวเข้าไปทำอันตรายกับ pressure gauge
2.ป้องกันการปนเปื้อน จากชิ้นส่วนภายในหรือคราบสนิมภายในตัว pressure gauge ปะปนมากับของเหลวที่เราวัด
 Diaphram วัสดุที่ใช้จะเป็น สแตนเลส316

ไดอะแฟรม เพรสเชอร์เกจ คืออะไร
    Diaphragm pressure gauge คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แยกของเหลวที่เราต้องการวัดความดัน ออกจากตัว pressuregauge จะเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ในอุสาหกรรมอาหาร

Snubber และ Needle valve ในระบบการวัดความดันมีประโยชน์อย่างไร
Snubber จะทำหน้าที่
ป้องกันแรงดันกระชากได้ส่วนนึง โครงสร้างของ Snubber จะเป็นข้อต่อและจะมีตระแกรงเล็กๆเป็นรูพรุน รูพรุนจะทำหน้าที่ค่อยๆปล่อยแรงดันออกมา ก่อนจะเข้าสู่ pressure gauge 
Needle Valve จะทำหน้าที่
ตัวโครงสร้างจะมีลักษณะเป็นเข็ม ใช้ควบคุมอัตราการไหล ซึ่งจะมีความเทียงตรงมากในกรณีนำมาต่อร่วมกับ pressure gauge ก็จะช่วยควาบคุมแรงดันกระชาก ก่อนเข้า pressuer gauge นันเอง 

Pressure Gauge Siphons คืออะไร ไซฟ่อน ในงานเกจวัดความดันมีไว้เพื่อจุดประสงค์ คือ 
   -ช่วยลดความร้อน หรือลดอุณหภูมิ ที่เกิดจากของเหลวที่เราวัด(สิ่งที่เราวัด) ก่อนเข้าสู่เกจวัดแรงดัน
   -ช่วยลดแรงดันกระชาก ก่อนเข้าสู่เกจวัดแรงดัน
   -ช่วยแยกของเหลวหรือไอน้ำ ก่อนเข้าสู่เกจวัดแรงดัน
อ่านข้อมูลเพื่มเติมได้ที่ .......

 

 เกลียว NPT และ BSP, BSPP ที่พบมากใน gauge วัดแรงดัน

ในระบบ การท่อหรือการทำเกลียวแบบต่างๆค่อนข้างมีมาตรฐานอยู่หลายอย่าง และแต่ละอย่างนั้นเราสามารถพบเจอได้ทั่วไปในงานอุสาหกรรม แต่ในระบบการวัดความความดัน หรือเกลียว Pressure gauge นั้นเรา จะพบเกลียวที่เรียกว่า NPT และ BSPP อยู่บ่อยครั้งคือ

1 NPT คือ เกลียว (National Pipe Thread Taper) (เกลียวเอียง) เป็นเกลียวมาตรฐานอเมริกา  เช่น ½”NPT.

2 BSPP คือ เกลียว (British Standard Pipe-Parallel) (Straight) (เกลียวตรง) เป็นเกลียวมาตรฐานของอังกฤษ เช่น G ¾”
ดูลายละเอียดเพื่มเติมได้ที่ บทความเรื่อง เกลียว NPT ,NPS , BSPT ,BSPP คืออะไร 


 

รูป pressure gauge ยี้ห้อ Nuovafima Rang 0-16 bar ( 0-250PSI)แบบมีน้ำมัน เกลียวออกล่าง 1/4"ทองเหลือง NPT


 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้